
|
- นิราศหนองคาย
- พิมพ์ครั้งแรก 2412
- นายทิม สุขยางค์ (หลวงพัฒนพงษ์ภักดี)
- (พ.ศ. 2390-2458)
-
นิราศหนองคาย ต่างจากนิราศอื่นๆ
คือ เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ที่ช่วยให้เรา
เข้าใจความหมาย ของคำว่า การยกทัพ การเกณฑ์ทัพ การพักพล รวมทั้งเส้นทาง ระหว่างเดินทัพ
จากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมา ต่อไปยังพิมาย เมืองพุทไธสง
เพื่อปราบกบฏฮ่อ ที่หนองคาย แล้วเดินทางกลับมา
ทางดงพระยากลาง กินเวลาถึง 8 เดือนนั้น ช่วยให้เห็น
สภาพบ้านเมืองไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้เป็นอย่างดี เพราะนายทิม
ได้เขียนไว้โดยละเอียด ได้ภาพกระจ่าง
-
- ครั้นต้องแสงสุริยาทิพากร กำเริบร้อนด้วยพิษฤทธิ์วิกล
- อายพื้นดินนำพาให้อาพาธ วิปลาสแรงกล้าเมื่อหน้าฝน
- ตกแล้งหมาดขาดเหงื่อยังเหลือทน จึ่งพาคนให้เป็นไข้ได้รำคาญ
- คนเดินเท้าก้าวหล่มบ้างล้มลุก ช้างเดินบุกหล่มล้าน่าสงสาร
- เหล่าโคต่างล้าล้มอยู่ซมซาน บ้างวายปราณกลิ้งตายเป็นหลายโค
- ช้างบุกหล่มบ้างล้มด้วยเต็มล้า ดูก็น่าสมเพชสังเวชโข
- เจ้าของช้างเสียใจร้องไห้โฮ ว่าพุทโธ่ซื้อมาราคาแพง
- ที่ช้างใหญ่ไม่สู้ล้ามาติดติด พระอาทิตย์คล้อยบ่ายลงชายแสง
- คนเดินเท้าอ่อนล้าระอาแรง บ้างย่องแย่งเท้าพุปะทุพอง
(หน้า 216-218)
-
- ! back ! ! home
!
|