
|
- เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า
- เขียนในช่วงปีพ.ศ. 2495-2496 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2517
- นายผี (อัศนี พลจันทร)
- (พ.ศ.2461-2530)
- เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า เป็นบทกวีประเภทฉันท์ ซึ่งผูกขึ้น
เป็นเรื่องราวของ ชีวิตกรรมกรหญิง ในโรงเลื่อยแห่งหนึ่ง กับแม่และน้องชายของเธอ
...ในราตรีอันพิกลพิการ เงียบสงัดราตรีหนึ่ง ไม่มีแม้แสงดาว
และแสงเดือน มีก็เพียงแสงอนาถ แห่งนัยน์ตา ของลูกน้อยและแม่ มองดูกัน ด้วยความรันทด และสิ้นหวัง ผู้เป็นลูกน้อยนั้น
ป่วยหนัก และกำลังจะจากโลกไป ฝ่ายแม่ ซึ่งกำลังเจ็บนั้นเล่า สุดจะหาหยูกยา
มาหยุดความตายของลูกน้อย เธอผู้เป็นพี่ เป็นกรรมกรหญิงโรงเลื่อย
เป็นผู้นำการต่อสู้ ของเพื่อนกรรมกร จะต้องไปร่วมการต่อสู้ นัดหยุดงานประท้วง
ของเพื่อนกรรมกร แต่ทว่า
-
- เมื่อน้องนี่ มาเจ็บ ก็ประจักษ์ ว่ายากใจ
- จักปอง แลมองไป ก็ปั่นป่วน อยู่รวนเร
- กำลัง แม่อิดโรย ละเหี่ยโหย ให้โผเผ
- ลุกนั่ง ยังโงเง ด้วยหง่อมงุ้ม อยู่งันงัน
- อุ้มน้องอัน นอนแบบกับ อกแนบ บ่จำนรร
- จานิ่ง คำนึงอัน ใดแลแม่ มาทรมาน
- น้ำตาแม่ ตกต้อง ทั้งสองแก้ม ยิ่งสงสาร
- แม่จ๋า อย่าทนทาน ให้ทุกข์ท่วม บ่ทานทน
- อ้าน้องนี่ มาไข้ ยิ่งเจ็บใจ ในความจน
- แม่ลูก เราสามคน จะกอดคอ เข้าคร่ำครวญ (หน้า 67)
-
- เรื่องราว ของกรรมกรหญิงผู้นี้ เป็นเรื่องในทำนอง
วีรสตรีสู้รบ เป็นการวาดภาพ วีรบุคคล ซึ่งเชิดชูการต่อสู้ ของฝ่ายกรรมกร
แม่ของกรรมกรหญิง เป็นแม่ ซึ่งนายผีสร้างขึ้นมา เพื่อแทนความหมาย ของแม่ในอุดมคติ
เป็นสัญลักษณ์ ของความรัก อันเปี่ยมด้วย การเสียสละเพื่อส่วนรวม
เป็นอุดมการณ์แรงกล้า ในยุคที่ความคิด และกระแสแห่งการปฏิวัติ
กำลังรุนแรง แม่จึงเป็นฝ่ายปลุกเร้า และให้กำลังใจ ให้กรรมกรหญิง สลัดความโลเล
สับสนเสีย ในวาระสุดท้าย น้องชายของเธอ ได้จบชีวิตลง ท่ามกลางความเศร้าโศกยิ่ง
ค่ำแล้ว ในที่สุด ผีตากผ้าอ้อม ก็ย้อมฟ้าเป็นสีแดง ดวงอาทิตย์จะลับโลก เช่นเดียวกับ
ชีวิตน้อยๆ ที่ด่วนลาลับ ลงเสียแล้ว
-
- สามร่างสามรักสามลาญ
- สามพ่ายภัยพาล ลำพังเพราะไร้ลำเค็ญ
- สามแสนลำบากยากเย็น
- สามแม้เมื่อเป็นประดุจสามยามตาย
- สามกายสอดกอดสามกาย
- กายหนึ่งนั้นวาย ชีวิตแต่สองยังทรง
- ดำรงชีพิตคือผง
- คลีดินดำรง ประดาษอยู่เพี้ยงร่างผีฯ (หน้า 78)
- ! back ! ! home
!
|