
|
- คนบนต้นไม้
- พิมพ์ในนิตยสาร ในช่วงปี พ.ศ. 2510-2516
- นิคม รายยวา
- (พ.ศ. 2487- )
-
หนังสือรวมเรื่องสั้นจำนวน 13
เรื่อง รวมทั้งเรื่องคนบนต้นไม้
- ซึ่งเป็นเด่นเรื่องหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ เรื่องสั้นเหล่านี้
เคยตีพิมพ์ในวารสารรายคาบ
- ในช่วงปีพ.ศ. 2510-2519 ก่อนที่นำมารวมตีพิมพ์เป็นเล่มภายหลัง
- (ปี 2527 โดยสำนักพิมพ์ต้นหมาก)
- เรื่องสั้นของนิคม รายยวา มีความเด่นในเรื่อง การสร้างโครงเรื่อง
และการใช้ฉาก (Setting)
- จากธรรมชาติ สภาพภูมิประเทศ และธรรมชาติชีวิตของสัตว์
- ควบคู่ไปกับการใช้ประสบการณ์จริงของชีวิตของเขา
ที่ได้ไปสัมผัสต่อสู้มา ในการไปบุกเบิกทำงานการเกษตรอยู่กับชาวบ้าน ได้คลุกคลี
และได้เห็นชีวิตของคนหลายๆ แบบ ที่โยกย้ายจากถิ่นฐานต่างๆ มาเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
คือ เพื่อแสวงหางานสักอย่าง ทำเพื่อที่จะได้มีรายได้มาประทังชีวิตหรือธรรมชาติของการต่อสู้กับธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
- ความขัดแย้งของจิตสำนึก และความต้องการทางวัตถุทรัพย์สิน
เพื่อความอยู่รอดหรือกิเลสกับความโลภ
- ข้อเด่นอีกข้อหนึ่งของนิคม คือ เขาเป็นนักคิด และเขียนหนังสืออย่างมีเป้าหมาย
และด้วยภูมิหลังการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มา ทำให้เขาสะท้อนชีวิต และการต่อสู้ทางเศรษฐกิจของตัวละครออกมาอย่างลึกๆ
ตัวละครไม่ได้ล่องลอยอยู่ในความคิดนั้น
- แต่เป็นคนจริงๆ ที่ต้องทำมาหากิน ต่อสู้กับการทำมาหาเลี้ยงชีพ
- เป้าหมายที่นิคมต้องการสื่อกับผู้อ่าน คือ บทสรุปของปรัชญาชีวิตที่เขาประสบพบเห็นมาในชนบท
- เขามักเสนอภาพหรือสมการของความขัดแย้ง ระหว่างสองสิ่งออกมาเสมอ
และทางออกหรือคำตอบของสมการ มักจะออกมาอย่างสมจริงกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์
ที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ผลประโยชน์ และมุ่งเอาตัวรอดก่อนอื่น โดยที่บางครั้งต้องทำลายชีวิตที่อ่อนแอกว่าหรือการถูกทำลาย
ด้วยวิถีหรือกฎธรรมชาติ ซึ่งไม่เข้าข้างใคร เช่น เรื่องมากับลมฝนหรือไม่ก็ต้องแลกด้วยความสูญเสียของบุคคลที่ตนรักก็ตาม
ซึ่งตามกันข้ามกับนักเขียนแนวพาฝัน ตัวอย่างของเรื่องสั้นที่เสนอภาพความขัดแย้งนี้
คือ เรื่องเป็นลม เรื่องเช้าวันหนึ่ง และเรื่องคนบนต้นไม้ เป็นต้น
- ! back ! ! home !
|