
|
- ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ.2352-2453 ด้านสังคม
- พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2517 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2519 ครั้งที่
3 พ.ศ. 2526
- (ฉบับที่ใช้ในการแนะนำคือ ฉบับที่พิมพ์ครั้งที่
2 โดยสำนักพิมพ์เรืองศิลป์)
- ชัย เรืองศิลป์
- (พ.ศ. 2447 - 2518)
-
การที่เลือกหนังสือประวัติศาสตร์ไทยสมัย
พ.ศ.2352-2453 ด้านสังคมเป็นหนังสือดี
- แทนที่จะเลือกหนังสือเล่มอื่นๆ ของชัย เรืองศิลป์
ที่เป็นงานค้นคว้าข้อมูลทางด้านสังคมเหมือนกัน ได้แก่ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
และสังคมไทยในศตวรรษที่ 24
- (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ชัย เรืองศิลป์ เมื่อ
28 มกราคม 2519)
- และประวัติศาสตร์ไทยสมัยก่อนศตวรรษที่ 25
- (พิมพ์ครั้งแรก 2523, ครั้งที่ 2 พ.ศ.2526, ครั้งที่
3 พ.ศ.2539)
- เหตุผลก็เป็นเพราะหนังสือประวัติศาสตร์ไทยสมัย
2352-2453 ตอนที่ 1 ด้านสังคม เป็นการเขียนรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์กว่างาน
2 เล่มแรก ที่กล่าวข้างต้น งาน 2 เล่มดังกล่าว มีลักษณะเป็นงานที่เขียนขึ้นเหมือนการร่าง
รวบรวมประเด็นสำหรับเขียน ประวัติศาสตร์ไทย ด้านสังคม เล่มที่แนะนำมากกว่า
- ส่วนประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352-2453 ตอนที่ 2 ด้านเศรษฐกิจนั้น
ก็เป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่ง ที่บุคคลทั่วไปควรอ่าน
- แต่ที่ไม่ได้ยกขึ้นมา เป็นเล่มที่แนะนำก็เป็นเพราะ
เมื่อเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352-2453 ด้านสังคมแล้ว ด้านเศรษฐกิจจะด้อยกว่า
ในแง่ของการให้ภาพ ที่ไม่เป็นระบบตามลักษณะการเขียนในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพราะดูเหมือนว่า
ผู้เขียนจะให้รายละเอียดของต้นไม้ในป่าบางต้น มากกว่าการให้ภาพของป่าไปด้วยในขณะเดียวกัน
แต่ด้วยวิธีการเขียนเช่นเดียวกันนี้ เมื่อนำมาใช้ในด้านสังคมกลับจะให้เห็นภาพทางสังคมที่ละเอียด
ซับซ้อน มีสีสรร น่าอ่าน
- การที่หนังสือเล่มนี้ ได้รับการพิจารณาว่า เป็นหนังสือดีในรอบศตวรรษ
เพราะเป็นหนังสือที่ให้ภาพสังคมไทย
- ในช่วงเวลาที่สำคัญ คือ 100 ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมไทยดั้งเดิมโบราณ
มาเป็นสังคมไทยสมัยใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก (ตรงกับรัชกาลที่ 2-5)
ได้อย่างดี คนทั่วไปก็จะอ่านได้อย่างทั้งความรู้ และความเพลิดเพลิน
- จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ อยู่ที่ข้อมูลที่ได้จากเอกสารเก่าแก่หายาก
ที่อยู่ในครอบครองของผู้เขียนจำนวนมาก
- ไม่ว่าจะเป็นสมุดข่อย สมุดไทยดำ ตำราโหราศาสตร์
หนังสือ เช่น นิราศเกาะจาน นิราศเดือน สุทยาลังการที่ชัย เรืองศิลป์ใช้ ก็เป็นหนังสือที่นักประวัติศาสตร์เองก็ไม่เคยเห็น
และไม่เคยนำมาใช้ รวมทั้งการใช้ข้อมูลจากกฎหมายตรา 3 ดวง พงศาวดารฉบับต่างๆ
เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญในการเขียน
- ผู้เขียนยังมีความกล้า ในการทวนกระแสหลักในทางประวัติศาสตร์ประการหนึ่ง
คือ การนำหนังสือสยามประเภทของ กศร. กุหลาบ มาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หนังสือสยามประเภท เป็นหนังสือที่นักประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไปแม้แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยแน่ใจในความถูกต้อง
และไม่กล้า นำมาใช้อ้างอิง เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เป็นเพราะสมเด็จฯ
กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงเคยวิจารณ์ไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดี (เรื่องที่ 9
"หนังสือหอหลวง") ว่า มีความไม่น่าเชื่อถือ เป็นหนังสือที่เกิดจากการลักลอบคัดจากหอหลวง
- เมื่อพิจารณาโดยรวม หนังสือประวัติศาสตร์ สมัย
พ.ศ.2352-2453 ด้านสังคมเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับคนทั่วไป
- ที่จะอ่านข้อบกพร่อง ความผิดพลาดของหนังสือ ที่ผู้อ่านควรจะตระหนักก็คงมีเหมือนๆ
กับหนังสือที่อ้างว่า
- เป็นหนังสือประวัติศาสตร์เล่มอื่นๆ ทั่วๆ ไป ซึ่งข้อเท็จจริงต่างๆ
ที่ถูกนำเสนอก็ผ่านการเลือกสรรจากนักประวัติศาสตร์
- ที่อาศัยอัตวิสัยของตนเช่นกัน
-
- ! back ! ! home !
|