วรรณสาส์นสำนึก
พิมพ์ในนิตยสารช่วง 2492 - 2495 พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก พ.ศ. 2529
สุภา ศิริมานนท์
(พ.ศ. 2457-2529)
 
วรรณสาส์นสำนึก เป็นหนังสือรวมข้อเขียน ด้านวรรณกรรมจำนวน 2 เล่ม ของสุภา ศิริมานนท์ ซึ่งเคยตีพิมพ์ในนิตยสารอักษรสาส์น อันเป็นนิตยสารเดือนที่ก่อตั้งโดยสุภา และจินดา
ผู้เป็นศรีภรรยา เมื่อปีพ.ศ. 2492 เป็นนิตยสารเชิงวิเคราะห์วิจารณ์สังคม ที่มีเนื้อหาสาระหนักแน่น
และก้าวหน้าที่สุด ทั้งในยุคนั้น และยุคต่อมา สุภานอกจากเป็นคนริเริ่มการศึกษามาร์กซิสม์อย่างเป็นนักวิชาการแล้ว ยังเป็นผู้บุกเบิกด้านวรรณกรรมวิจารณ์คนหนึ่งด้วย
วรรณสาส์นสำนึก เล่ม 1 ประกอบด้วยบทความประเภทต่างๆ ไว้ด้วยกันเป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นข้อเขียนในหัวข้อ เรื่องศิลปะ ส่วนที่ 2 ว่าในหัวข้อเรื่องภาษา และหนังสือ ส่วนที่ 3
ในหัวข้อนักเขียนไทย และส่วนที่ 4 ในหัวข้อเรื่องนักเขียนต่างประเทศ
วรรณสาส์นสำนึก เล่ม 2 ประกอบด้วย ส่วนที่ 5 ในหัวข้อ การวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรม ส่วนที่ 6 ในหัวข้อวรรณกรรมวิพากษ์ส่วนที่ 7 ในหัวข้องานแปลวรรณกรรม
ชื่อบทความชิ้นแรก ในหนังสือเล่มที่ 1 คือ ศิลปะทั้งหลาย ย่อมเกี่ยวพันอยู่กับสามัญชนแต่เท่านั้น นับว่าเป็นชื่อบทความ
ที่ท้าทายชวนให้อ่าน และชวนให้เกิดความคิดในการวิวาทะอย่างยิ่ง ดังข้อเขียนต่อไปนี้
ความทรงอยู่ของชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะกำหนดเอาได้โดยจิตสำนึก แต่จิตสำนึกนั้นแหละพึงกำหนดเอาได้ โดยความทรงอยู่ของชีวิต
ข้อสรุปของสุภา คือ ศิลป คือ การสื่อสาส์น ระหว่างผู้เสพย์ กับผู้สร้างศิลปะ
บทความที่ 2 ชื่อ ภาวะของศิลปะภายใต้ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เป็นบทความขนาดยาว ที่น่าศึกษามากที่สุดชิ้นหนึ่ง ที่คุณสุภาได้อาศัยนำเอาศิลปะมาอธิบาย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การชี้ให้เห็นถึงภัย ของระบอบเผด็จการฟาสซิสม์ รวมทั้งชี้ถึงพลังของประชาชน
วรรณสาส์นสำนึก เล่ม 2 มีบทความหลักชิ้นใหญ่ๆ อีก 3 ชิ้น ซึ่งแสดงถึงความเป็นปราชญ์ของสุภา คือ การเสนอวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมคลาสสิกระดับโลก ตั้งแต่เอนไซโคลปีเดีย จนถึงดิกชันเนอรี่ และแปลงานวรรณกรรมระดับโลก
เช่น ของ อนาโตล ฟรังซ์ บเจิร์นสัน อิวาน โวโลติน และสเตฟาน สไวก์
สุภายังได้ริเริ่มให้เป็นแบบอย่าง ในการแปลงวรรณกรรมต่างประเทศ โดยการค้นประวัติของผู้เขียน มาเขียนอธิบายถึงชีวิต และโลกทรรศน์ของผู้เขียนนั้นๆ อย่างละเอียด และมีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจซึมซาบ
เนื้อหาของเรื่องได้อย่างเข้าใจถึงแก่นเรื่องได้ดีขึ้น เมื่อรู้ภูมิหลัง และเงื่อนไขของสังคมของผู้เขียนในขณะนั้น หรือในเวลาที่สร้างงานวรรณกรรมระดับโลกชิ้นนั้นๆ
ในบทความเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมนั้น ได้เสนอทฤษฎีวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรม ไว้ได้อย่างดีเยี่ยม
รวมทั้งได้ยกเอาวรรณกรรมระดับโลก และวรรณกรรมไทยมาเป็นตัวอย่างของการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อสนับสนุนทฤษฎีของท่าน
เช่น งานของ ชาร์ล ดิ๊กเก้น แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ ผู้เขียนเรื่อง กระท่อมน้อยของลุงทอม ตอลสตอย, ดอสโต เยฟสกี้, มุลค์ ราช อนันท์, หลู่ซิ่น และเรื่อง ภควัคคีตา
 
! back ! ! home !