แสงอรุณ 2 รศ.แสงอรุณ รัตกสิกร
รวมพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2522
แสงอรุณ รัตกสิกร
(พ.ศ. 2465 - 2522)
 
บทความ และข้อเขียนของอาจารย์แสงอรุณ บ่งถึงความรู้
และรสนิยมในสุนทรียภาพทางสถาปัตยกรรม, ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม
ความเฉียบคมเสมอ ด้วยราชสีห์แห่งการวิจารณ์ ประกอบกับความสามารถการใช้ภาษา
ทั้งการพูด และฝีมือเขียนหนังสือ จึงทำให้ภาระอันหนักต่อการทำความเข้าใจเรื่องเฉพาะวิชา
เช่น สถาปัตยกรรม เป็นต้น บรรเทาเบาบาง ไม่เป็นอุปสรรคแก่ผู้มิได้ศึกษาในทางความรู้นั้น
เรื่อง ในรังนกอินทรีกับทาไลซินตะวันตก เป็นสองเรื่องจากประสบการณ์ตรง ที่อาจารย์แสงอรุณ เคยอยู่ในอาคารสถาปัตยกรรม ของสถาปนิกเอกของโลกคนหนึ่ง คือ แฟรงค์ ลอยไรท์
ในฐานะลูกศิษย์ที่สะท้อนภาพชีวิต ณ สำนักศึกษานั้น เป็นคนไทยคนแรก และคนสุดท้ายของที่นั่น ได้บรรยายบุคลิกภาพ
ของมหาพรหมแฟรงค์ และลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ควรสนใจ แม้ว่ากาลต่อมาที่นั่นจะโทรมลง แต่ผมก็ยังรักที่จะฝันถึงมันอยู่เสมอ
ไม่ใช่อะไร เมื่อเราฝัน แม้ความทุกข์ก็มีรสหวาน
บทความที่เป็นพลังปลุกเร้าความสำนึกต่อคุณค่า และให้สติที่สถาปนิกหรือผู้มีส่วนกำหนดแบบแผนบริเวณ รวมทั้งตัวอาคาร เพื่อความงาม และความสงบสงัด คือ บทความเรื่องอปริหานิยธรรมในสถาปัตยกรรม อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมะหมวดที่ ผู้ปฏิบัติธรรมนี้ ย่อมมีแต่ความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้เลย การเขียนบทความชิ้นนี้ อาจารย์แสงอรุณใช้สมณ
ฉายาเมื่อครั้งอุปสมบทว่า อดีต สุภา กโร ภิกขุ สำนักวัดบวรนิเวศวิหาร งานเขียนที่อยู่ในกลุ่มเนื้อหาของเรื่องเดียวกัน
ยังมีอีกสองบทที่น่าสนใจด้วย คือ เรื่องการอยู่ในบ้านแบบไทยเดิมกับอยู่บ้านไทย อาจารย์แสงอรุณ อธิบายเหตุผลของสถาปัตยกรรมไทยว่า เหตุใดท่านแต่ก่อนจึงออกแบบเช่นนั้น อาทิ บ้านหลังคาทรงสูง หรือเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทย ที่เป็นบ้านพักอาศัย ซึ่งใช้พันธุ์ไม้ล้อมตัวอาคาร มีสวนสมุนไพร สวนครัว นับเป็นสถาปัตยกรรมแบบอุทยานนคร เพื่อความกลมกลืน และประหยัด การเสนอข้อคิดระหว่างบรรทัดของอาจารย์แสงอรุณ ในเรื่องหลังมีความตอนหนึ่งว่า ความสงบระงับ ควรจะเป็นเป้าหมายในการดำรงชีวิตของเรา และด้วยวิธีนี้เท่านั้น ที่ความเป็นมนุษย์ของเราจะพัฒนาสูงขึ้น
! back ! ! home !