
|
- สาส์นสมเด็จ
- (เขียนช่วงปีพ.ศ. 2457-2486)
- พิมพ์ครั้งแรกโดยแพร่พิทยา ไม่ทราบปีแน่ชัด
- พิมพ์ครั้งที่สองโดยคุรุสภา พ.ศ. 2507
- สาส์นสมเด็จฉบับที่ยังไม่เคยพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก
พ.ศ. 2533
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- (พ.ศ. 2406-2490)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- (พ.ศ. 2405-2486)
-
หนังสือชุดสาส์นสมเด็จ เป็นหนังสือที่รวบรวมพระหัตถเลขาส่วนพระองค์
- ของเจ้านายที่เป็นปราชญ์ 2 ท่าน อันมีไป-มาระหว่างกัน
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด จากเรื่องราวที่ปรากฏจึงมีลักษณะรอบรู้ หลากหลาย
ถึงพร้อมด้วยอัจฉริยภาพ
- มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ เป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่ง
แก่การรู้จักเรื่องไทยศึกษา
- ทั้งประวัติศาสตร์โบราณคดี ศาสนา ศิลปกรรม วรรณคดี
และอักษรศาสตร์ ฯลฯ มีคุณค่าเป็นหนังสืออ้างอิงสำคัญเล่มหนึ่ง ผู้อ่านสามารถโดยเสด็จในทางความรู้
- และอ่านอย่างจำเริญใจได้ เพราะลีลาพระนิพนธ์ เป็นการเขียนจดหมาย
มิใช่เพื่อแต่งตำรา
- คุณค่าสำคัญของสาส์นสมเด็จ
- เจ้านายสองพระองค์ ต่างทรงเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมือง
มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2475 แล้ว สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงเสด็จไปประทับที่ปีนัง ขณะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ยังทรงดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในช่วงหลังวันที่
24 มิถุนายน 2475 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประทับต่างประเทศ
โดยพระสถานะที่มีโอกาสจะรู้ และสามารถศึกษาความรู้ได้ โดยความสนพระทัย และพระปรีชาในทางส่วนพระองค์
เป็นปัจจัยสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทางสังคม ทางวิชาการ อันเป็นที่มาแห่งความรู้
และการที่ทรงแลกเปลี่ยนความรู้ เมื่อสองพระองค์ล่วงเข้าพระปัจฉิมวัย แสดงถึงความถึงพร้อมทางความคิด
ความสุขุมคัมภีรภาพ รสนิยม และพระนิสัยใฝ่ดี อันควรจูงใจคนให้โดยเสด็จ แม้โอกาสของแต่ละคน
และความเป็นไปได้จะทำให้ดีเสมอเหมือน นี่คือคุณค่าในการนำทางความคิด และสุนทรียภาพทางปัญญาประการหนึ่ง
มิไยจะต้องกล่าวว่า สาส์นสมเด็จมีความเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ และดำรงความสำคัญทางภาษา
และวรรณกรรมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เฉพาะฉบับที่ยังไม่เคยพิมพ์ เมื่อทางทายาทของสมเด็จฯ
กรุณาให้จัดพิมพ์ ก็เป็นเล่มที่รวมพระหัตถเลขาในปี 2475
- ไว้เกือบทั้งหมด นับเป็นการคำนึงถึงมิติเวลาการนำเสนอ
ด้วยความรอบคอบ ในกาลเทศะที่น่าศึกษาอีกอย่างหนึ่ง
-
- ! back ! ! home !
|