
|
- เทียนวรรณ
- พิมพ์ครั้งแรก 2495 (สนพ.รวมสาส์น)
- สงบ สุริยินทร์
-
นี่เป็นหนังสือชีวิต และงานของเทียนวรรณ
หรือ ต, ว, ส, วรรณาโภ (2385-2458) ปัญญาชน คนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้เรียกร้องระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
- และการปฏิรูปทางด้านสังคมอีกหลายข้อ จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องติดคุกถึง
17 ปี
- ความจริงเราอยากให้ผู้อ่าน ได้กลับไปอ่านงานเขียนของเทียนวรรณโดยตรง
- แต่เนื่องจากงานของเขาเป็นงานชิ้นสั้นๆ ที่ตีพิมพ์อยู่ในนิตยสารรายคาบ
- (ตุลวิภาคพจนกิจ และศิริพจนกิจ) ไม่ได้มีการคัดเลือกเพื่อพิมพ์เป็นเล่ม
เราจึงคิดว่า
- น่าจะเลือกแนะนำหนังสือเล่มนี้ ที่พิมพ์เป็นเล่มในปี
พ.ศ.2495 เพื่อเป็นสื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักความคิด และผลงานของเทียนวรรณ ปัญญาชนนักปฏิรูปทางการเมืองคนแรกของไทย
- หนังสือเล่มนี้ เขียนขึ้นในราวปีพ.ศ.2494 โดยสงบ
สุริยินทร์ นักหนังสือพิมพ์
- และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง
มีนักคิดนักเขียนอาวุโสในสมัยนั้น
- เขียนคำนำให้หนังสือเล่มนี้ถึง 5 คน คือ หลวงวิจิตรวาทการ,
กุหลาบ สายประดิษฐ, ส.ธรรมยศ., เปลื้อง ณ นคร (ตำรา ณ เมืองใต้)
- มาลัย ชูพินิจ สำหรับ ส.ธรรมยศ และเปลื้อง ณ นคร
เป็นผู้ที่เคยค้นคว้า และเขียนบทความถึงชีวิต และงานของเทียนวรรณมาก่อน
- แต่คนที่ค้นคว้า และเขียนถึงชีวิต และงานของเทียนวรรณขนาดพิมพ์เป็นเล่ม
เป็นคนแรก คือ สงบ สุริยินทร์
- เทียนวรรณเริ่มเขียนบทความแสดงความคิดเห็น ให้ปรับปรุงราชการงานเมือง
ตอนที่เขาอายุ 30 ปี โดยมีข้อเสนอที่ก้าวหน้าหลายข้อ
- เช่น ให้เลิกทาส ให้เลิกการพนันบ่อนเบี้ย ให้ปราบปราบการทุจริตฉ้อฉล
และความไม่เป็นธรรม ให้มีสภาผู้แทน บทความที่เขาเขียนบางครั้ง ไม่มีหนังสือพิมพ์ไหนลงให้
เขาก็จะยกให้ผู้มีสตางค์พิมพ์เป็นหนังสือแจกงานศพบ้าง หรือพิมพ์แจกเองบ้าง
ในช่วงที่เขาไปอยู่จังหวัดตราด และจันทบุรีกับภรรยาคนแรก เขาได้ศึกษากฎหมายด้วยตัวเองอย่างจริงจัง
และกลับมาอยู่กรุงเทพตอนอายุ 33 ปี
- และทำงานเป็นที่ปรึกษากฎหมาย รวมทั้งศึกษาด้วยตนเอง
อ่านหนังสือทั้งภาษาไทย และอังกฤษอย่างต่อเนื่อง
- เขาเขียนทั้งบทความ, บันทึกประจำวัน, กาพย์กลอน
รวมทั้งไปพูดแสดงความคิดเห็นทั้งตามวังเจ้านาย และตามวัด
- เขาเป็นคนแรกๆ ที่เห็นความสำคัญของผู้หญิงว่า รัฐบาลควรจะให้การศึกษาทัดเทียมกับชาย
เขาทำงานเป็นทนายความแบบนักอุดมคติ ช่วยให้คนจนได้รับความยุติธรรม
- เทียนวรรณนั้น เขียนบทความด้วยการใช้ถ้อยคำง่ายชัดเจน
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างเช่น
- ที่เขาเขียนว่า โรคของแผ่นดินหรือโรคของประเทศราชการบ้านเมือง
คือ เจ้านายเสนาบดี อธิบดี พนักงานทุกระดับ
- ประพฤติผิดพระราชกำหนดกฎหมาย ใช้อำนาจอันไม่ชอบธรรม
ทุจริตในใจตน มิได้เมตตาจิตแก่ผู้น้อย และเพื่อนมนุษย์
- มิได้มีหิริโอตตับปะธรรม เกรงบาปหรือกลัวกรรม มุ่งแต่จะหาลาภยศใส่ตนในทางทุจริต
กลับความจริงให้เป็นเท็จ
- กลับความเท็จให้เป็นจริง
- ขณะเดียวกันเทียนวรรณก็วิเคราะห์ โรคของสามัญชน
อย่างวิพากษ์วิจารณ์ตรงไปตรงมาเช่นกัน โดยเขาเขียนว่า
- ฝูงราษฎรเป็นคนโง่เขลา ปราศจากสติปัญญาวิชาความรู้
มีสันดานหยาบช้าสามาน ประกอบการทุจริตชั่วร้ายต่างๆ เต็มไปด้วยการเล่นพะนัน
อันไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ศาสนาและบ้านเมืองของตน
-
- ! back ! ! home !
|