
|
- พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
- พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2501
- สุชีพ ปุญญานุภาพ
- (พ.ศ. 2460- )
-
หนังสือเล่มนี้ มุ่งหวังให้ประชาชนผู้อ่านเกิดประโยชน์
รวม 4 ประการ
- รู้ความหมาย และความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก
- รู้เรื่องที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นแนวคำสอนทางพระพุทธศาสนา
- รู้ความย่อในพระไตรปิฎกแต่ละเล่ม ทั้ง 45 เล่ม
เป็นการย่อที่พยายามให้ได้สาระสำคัญ
- สามารถศึกษาเอกสารประวัติศาสตร์ไทย เพื่อทราบความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกในไทย
- ซึ่งรวบรวมเพื่อให้ค้นสะดวก ไม่กระจัดกระจาย
- ผู้จัดทำพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ได้กำหนดเนื้อหา
เพื่อจัดทำแบ่งในการนำเสนอ
- ตามลำดับ รวมห้าภาค
- ภาคที่ 1 ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกคืออะไร
ประวัติการสังคายนา ลักษณะของการจัดหมวดหมู่ ของแต่ละปิฎก ลำดับชั้นคำภีร์ทางพระพุทธศาสนา
- ภาคที่ 2 ว่าด้วยเอกสารทางประวัติศาสตร์ เริ่มจากพระไตรปิฎกฉบับพระราชหัตถเลขา
รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถึงรายงานการสร้างพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 7
- ภาคที่ 3 ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
- ภาคที่ 4 ความย่อแห่งพระไตรปิฎก ฉบับภาษาบาลีที่จัดทำย่อเป็นภาษาไทย
- พระวินัยปิฎก ตั้งแต่เล่ม 1 ถึงเล่ม 8
- พระสุตตันตปิฎก ตั้งแต่เล่ม 9 ถึงเล่ม 33 รวม 25
เล่ม
- พระอภิธัมมปิฎก เล่ม 34 ถึงเล่ม 45 รวม 12 เล่ม
- ภาคที่ 5 ว่าด้วยบันทึกทางวิชาการ
- ผู้เขียนมีความสามารถการใช้ภาษาไทยที่ดี มีความสละสลวยเข้าใจง่าย
ทั้งนี้ อาศัยกลวิธีการนำเสนอ อย่างมีวิจารณญาณอีกเช่นกัน
- กล่าวคือ ยึดหลักทำให้ง่ายเป็นพื้นฐาน ครั้นความจำเป็นทางวิชาการ
ดังกรณีศัพท์บัญญัติเป็นภาษาธรรมะต้องคงไว้ ก็ช่วยผู้อ่านให้เข้าใจง่ายขึ้นผ่านวิธีต่างๆ
เช่น คงรูปศัพท์ไว้ หากแปลหรือทำคำอธิบายกำกับ บางกรณีทำเชิงอรรถ เป็นต้น
- คุณค่าของหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
เล่มนี้ นอกจากทำพระไตรปิฎกให้ง่าย เหมาะแก่ประชาชนแล้ว ยังนำประชาชนสู่พระไตรปิฎก
คือ สร้างนิสัยปัจจัยจากฉบับนี้ สู่การมีฉันทะต่อการศึกษาปฏิบัติให้ลึกซึ้งขึ้น
เข้าถึงธรรมสำหรับการดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท เช่น ข้อความที่แปลถึงฐานะ
5 ที่ควรพิจารณาเนืองๆ คือ ความธรรมดาที่บุคคลไม่ล่วงพ้นไปได้ ทั้งความแก่
ความเจ็บไข้ ความตาย การต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งปวง
- และมีกรรม คือ การกระทำกับผลแห่งการกระทำเป็นของตน
เป็นผู้รับผลแห่งกรรม เป็นต้น
-
- ! back ! ! home !
|