ธรรมชาตินานาสัตว์ เล่ม 1-3
พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ พ.ศ. 2504
พิมพ์ครั้งที่สอง โดยสำนักพิมพ์สารคดี เมษายน พ.ศ. 2538
นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล
(พ.ศ. 2450-2535)
 
งานชิ้นหนึ่งในบรรดางานทั้งปวงของนายแพทย์บุญส่ง ที่ได้รับเลือกเป็นหนังสือชั้นดี
คือ เรื่องธรรมชาตินานาสัตว์ ชุดละ 3 เล่ม อันเป็นเรื่องราวเชิงสาระ ว่าด้วยชีวิตของสัตว์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ต่อมานำมารวมเล่มใหม่ แม้ไม่มีผู้เป็นบรรณาธิการปรุงแต่ง ส่วนที่บกพร่องหรือเกิดจากความเข้าใจผิดบางประการ ต้องถือว่างานชิ้นนี้
เป็นแม่บทของงานเขียนว่าด้วยการอนุรักษ์
นายแพทย์ผู้นี้ อยู่ที่สงขลาในวัยเด็ก ที่นั่นเต็มไปด้วยป่า และสัตว์ป่า แม้เดินทางทางแม่น้ำก็ได้พบช้างป่า คราวที่นายแพทย์บุญส่งเรียนแพทย์วิทยา จบจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เขายังเป็นนักล่าสัตว์ป่าอยู่ แต่แล้วคราวสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดได้ไม่นาน เป็นยุคที่พรานใช้ปืนกลมือ อีกทั้งหลายคนก็ล่าสัตว์
เพื่อเอากำไร เสือ และช้างจึงลดจำนวนอย่างรวดเร็ว ป่าเริ่มหายไป พ่อค้าตัดไม้สัก และไม่ปลูกซ้ำที่ตัดออกไป แรดหายไปหมดจากประเทศไทย แม้แต่เป็ดป่าที่ฝรั่งเรียกว่า White wing เหลือไม่ถึงร้อยตัว เพราะตกเป็นเหยื่อของนักล่าหมด
ความตระหนักในเรื่องเหล่านี้ ตลอดจนความรู้ ที่นายแพทย์บุญส่งมีอยู่ จึงได้ชักพาให้เขียนบทความมากมาย หากพลิกดูหนังสือธรรมชาตินานาสัตว์จะเห็นว่า เป็นเรื่องนกเสียราวสองในสาม
นายแพทย์บุญส่ง เขียนถึงนกต่างๆ นานาชนิด โดยเฉพาะนกตะกุมและนกกระสา จนเปิดแหล่งนิคมนกในจังหวัดอยุธยา
ที่วัดไผ่ล้อม ต่อมาได้จัดทำภาพยนตร์สารคดี ว่าด้วยสัตว์ป่าอีกสองเรื่อง ครั้งหนึ่ง จอย อดัมสัน,
ผู้แต่งเรื่อง Born Free หรือเกิดมาเสรี ได้แวะมาหานายแพทย์บุญส่ง แล้วเขาก็บ่นกับเธอว่า คนหลายคนกล่าวหาว่า เขาเคยเป็นนักล่าที่ยิ่งใหญ่มาก่อน เขาพูดไปก็ส่ายศีรษะท่าทางเสียใจ แต่จอย อดัมก็บอกแก่นายแพทย์บุญส่งว่า
พวกเราทุกคนเคยล่าสัตว์มาก่อน จึงไม่ควรที่จะเสียใจ และสิ่งนี้ก็ได้สอนให้เรารู้จักสัตว์ป่า และเลิกทำลายมันต่อไป
นายแพทย์บุญส่งตระหนักดีว่า เคยทำร้ายแรงกับสัตว์ป่ามาก่อน แต่สิ่งเช่นนี้กลับยั่วยุให้เขาพิทักษ์ป่ามากยิ่งขึ้น
ข้อสำคัญก็คือ งานเขียนของเขาราว 30 เล่ม ได้ช่วยให้ข้อมูลมากมาย โดยเฉพาะชุดธรรมชาตินานาสัตว์
การทำงานกว่า 40 ปี พร้อมกับการเขียนหนังสือเรื่องสัตว์ตลอดเวลา ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญ, เป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลัง และเป็นแรงขับเคลื่อนที่ไม่มีสิ่งใดถอดถอนได้ ใครก็ตามที่นึกถึงสภาพนกที่ถูกฆ่า, ถูกรังแก, ถูกดักด้วยแร้ว, ถูกส่งออกเพื่อนำไปขายต่อ,
ถูกยิงทิ้ง, ถูกแปรไปเป็นอาหารหรูๆ นายแพทย์บุญส่งเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง ที่ได้ต่อสู้ให้นกเหล่านี้มีเสรี
! back ! ! home !